อุโมงค์เก็บน้ำเยเรบาตัน (Yerebatan Sarnici)

อุโมงค์เก็บน้ำเยเรบาตัน (Yerebatan Sarnici)

อุโมงค์เก็บน้ำเยเรบาตัน (Yerebatan Sarnici) อุโมงค์เก็บน้ำโบราณขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะซ่อนอยู่ใต้เมืองอิสตันบูลได้ เราอาจมองเห็นทางเข้าเป็นเพียงอาคารเล็กๆ แต่เมื่อก้าวเดินลงบันไดไปเรื่อยๆ ความอลังการก็จะค่อยๆ ปรากฏให้เห็น และแม้ปัจจุบันอุโมงค์เก็บน้ำแห่งนี้จะไม่ได้ใช้เป็นแหล่งเก็บน้ำแล้วแต่ความยิ่งใหญ่ก็ยังหลงเหลือให้เราได้เห็น ไม่ว่าจะเป็นเสาหินอ่อน

อุโมงค์เก็บน้ำแห่งนี้ กลายเป็นแหล่งน้ำสะอาดให้กับ พระราชวังแห่งคอนสแตนติโนเปิล (Great Palace of Constantinople) และอาคารอื่นๆ ในบนเนินเขา และยังคงจ่ายน้ำไปยังพระราชวัง พระราชวังโทพคาปึ (Topkapı) หลังจากการยึดครองของออตโตมันในปี ค.ศ. 1453 มันสามารถเก็บน้ำได้มากถึง 80,000 ลูกบาศก์เมตรผ่านทางท่อระบายน้ำ 20 กม. จากอ่างเก็บน้ำใกล้ทะเลดำ (Black Sea) แต่ถูกปิดเมื่อจักรพรรดิไบแซนไทน์ย้ายจากวัง นับแต่นั้นมาก็ถูกลืมเลือนไปจนถึงปี ค.ศ. 1545

อุโมงค์เก็บน้ำเยเรบาตัน (Yerebatan Sarnici) หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า The Basilica Cistern สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิจัสตินเนียนแห่งไบแซนไทน์ ในศตวรรษที่ 6 เพื่อเป็นที่เก็บน้ำสำหรับใช้ในพระราชวัง สำรองไว้ใช้ยามที่กรุงอิสตันบูลถูกข้าศึกปิดล้อมเมือง มีความกว้าง 64.6 เมตร ยาว 138 เมตร สูง 9 เมตร มีเสาค้ำหลังคา 336 ต้น แบ่งเป็น 12 แถวๆ ละ 28 ต้น แต่ละต้นห่างกัน 4.9 เมตร จุน้ำได้ทั้งหมด 80,000 ลูกบาศก์เมตร

เสาส่วนใหญ่เป็นแบบไอออนิกและแบบคอรินเทียน ท่ามกลางแสงสลัว ที่นี่ดูขึมขลัง น่าทึ่งในแนวคิดและการก่อสร้าง เสาค้ำยันเรียงรายกว่าสามร้อยต้นนั้น เสาที่ใคร ๆ ก็ต้องไปดู คือ เสารูปดวงตา เขาว่าน้ำตาจากดวงตาเหล่านั้นเพื่อเหล่าทาสนับร้อยที่ตายในการก่อสร้าง และเสาอีก 2 ต้นที่ไม่ควรพลาดชม ได้แก่ เสาที่มีฐานเป็นหัวของเมดูซากลับหัว และเสาหัวเมดูซาตะแคงขวา อุโมงค์เก็บน้ำนี้ถูกลืมไปนานหลายศตวรรษ และมาพบโดยบังเอิญโดย Peter Gylius ชาวฝรั่งเศส ในปี 1545 ขณะที่เขาทำงานวิจัยไบแซนไทน์โบราณในเมือง แต่กว่าจะจัดการและเปิดให้เข้าชมได้ก็เมื่อปี 1987