อุโมงค์เก็บน้ำเยเรบาตัน (Yerebatan Sarnici)

อุโมงค์เก็บน้ำเยเรบาตัน (Yerebatan Sarnici)

อุโมงค์เก็บน้ำเยเรบาตัน (Yerebatan Sarnici) หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า The Basilica Cistern สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิจัสตินเนียนแห่งไบแซนไทน์ ในศตวรรษที่ 6 เพื่อเป็นที่เก็บน้ำสำหรับใช้ในพระราชวัง สำรองไว้ใช้ยามที่กรุงอิสตันบูลถูกข้าศึกปิดล้อมเมือง มีความกว้าง 64.6 เมตร ยาว 138 เมตร สูง 9 เมตร มีเสาค้ำหลังคา 336 ต้น แบ่งเป็น 12 แถวๆ ละ 28 ต้น แต่ละต้นห่างกัน 4.9 เมตร จุน้ำได้ทั้งหมด 80,000 ลูกบาศก์เมตร เสาส่วนใหญ่เป็นแบบไอออนิกและแบบคอรินเทียน ท่ามกลางแสงสลัว ที่นี่ดูขึมขลัง น่าทึ่งในแนวคิดและการก่อสร้าง เสาค้ำยันเรียงรายกว่าสามร้อยต้นนั้น เสาที่ใคร ๆ ก็ต้องไปดู คือ เสารูปดวงตา เขาว่าน้ำตาจากดวงตาเหล่านั้นเพื่อเหล่าทาสนับร้อยที่ตายในการก่อสร้าง และเสาอีก 2 ต้นที่ไม่ควรพลาดชม ได้แก่ เสาที่มีฐานเป็นหัวของเมดูซากลับหัว และเสาหัวเมดูซาตะแคงขวา อุโมงค์เก็บน้ำนี้ถูกลืมไปนานหลายศตวรรษ และมาพบโดยบังเอิญโดย Peter Gylius ชาวฝรั่งเศส ในปี 1545 ขณะที่เขาทำงานวิจัยไบแซนไทน์โบราณในเมือง แต่กว่าจะจัดการและเปิดให้เข้าชมได้ก็เมื่อปี 1987

อยู่เยื้องกับวิหารเซนต์โซเฟีย สร้างในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียนในปี ค.ศ. 532 เพื่อเป็นที่เก็บน้ำสำหรับใช้ในพระราชวัง สำรองไว้ใช้ยามอิสตันบูลถูกข้าศึกปิดล้อมเมือง กว้าง 65 เมตร ยาว 143 เมตร มีเสาค้ำหลังคา 336 ต้น แบ่งเป็น 12 แถว จุน้ำได้ทั้งหมด 80,000 ลูกบาศก์เมตร น้ำที่ได้ส่งผ่านท่อมาจากแหล่งน้ำที่อยู่ห่างออกไป 20 กิโลเมตร ใกล้กับทะเลดำ ที่มาของสถานที่แห่งนี้ชวนให้ขนลุกอยู่ไม่น้อย เสาคอลัมน์ หัวเสา และฐานเสานำมาจากซากหักพังของอาคารหลายแห่ง มีเสาทรงแปลกๆ อย่างเสาประดับรูปศีรษะเมดูซาที่กลับหัวลงและตะแคงข้าง รวมทั้งเสาหยาดน้ำตา ในยุคออตโตมัน ในปี ค.ศ. 1453 หลังกรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกอาณาจักรออตโตมันตีแตก อุโมงค์แห่งนี้จำต้องถูกทิ้งร้างไปโดยปริยายเป็นเวลายาวนานร้อยกว่าปี จนในปี ค.ศ. 1545 ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Petrus Gyllius ได้เป็นผู้ค้นพบอุโมงค์นี้ ทางการตุรกีจึงใช้อุโมงค์นี้เป้นที่เก็บกักน้ำอีกครั้งสำหรับพระราชวังทอปกาปีที่อยู่ไม่ไกลกันมากนัก ก่อนจะทำการปรับปรุง ล้างทำความสะอาดบูรณะครั้งใหญ่ในปี ค.ศ.1985 แล้วเปิดให้คนเข้าชมเป็นครั้งแรกในวันที่ 9 กันยายน ปี ค.ศ.1987 กลายเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งย่นจัตุรัสสุลต่านอาห์เมต